บทความต้องรู้

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

ทำไมขณะเติมน้ำมันต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้ง

19/พ.ค./2566

            เวลานำรถไปเติมเชื้อเพลิงที่สถานีบริการน้ำมัน พนักงานบริการจะนำป้ายเตือนมาวางไว้บนฝากระโปรงรถ ถ้าสังเกตในป้ายจะเห็นเป็น "สัญลักษณ์ต่าง ๆ " ว่าให้ดับเครื่องยนต์, ห้ามใช้โทรศัพท์, ห้ามสูบบุหรี่ และห้ามก่อประกายไฟ เนื่องจากเรื่องเหล่านี้ ถือว่าเป็นกฎเหล็กเกี่ยวกับความปลอดภัยในสถานีบริการน้ำมัน ที่ใช้กันทั่วโลก แต่ผู้ใช้รถในบ้านเรายังละเลย และไม่ปฏิบัติตามสักเท่าไร เราไปทำความเข้าใจเรื่องนี้กัน

 

ทำไมขณะเติมน้ำมันควรดับเครื่องยนต์ก่อน

            สำหรับผู้ขับขี่หลาย ๆ ท่าน อาจเคยเห็นข่าวทั้งในและต่างประเทศ ที่เกิดเหตุเพลิงไหม้รถขณะเติมน้ำมันเชื้อเพลิง ซึ่งปัญหาดังกล่าวนั้น ไม่ได้เกิดจากการเติมน้ำมันเชื้อเพลิงขณะที่เครื่องยนต์ทำงาน แต่เกิดจากการทำงานผิดพลาดในระบบไฟฟ้า หรือการสัมผัสกับส่วนประกอบที่เกิดประกายไฟและความร้อน ซึ่งมีจากข้อมูล NFPA กล่าวไว้ว่าอุณหภูมิที่ร้อนจัดสามารถจุดติดไฟได้เองหรือที่เรียกว่าการเผาไหม้ที่เกิดขึ้นเอง โดยเฉพาะส่วนประกอบท่อไอเสียที่สามารถสร้างความร้อนสูงถึง 800-1,000°F

            เนื่องจากไอเสียตั้งอยู่ที่ด้านล่างของรถ คุณอาจคิดว่าไม่น่าเป็นไปได้ ที่ไอน้ำมันเชื้อเพลิงจะไปสัมผัสกับท่อไอเสีย แต่ไอระเหยของน้ำมันเชื้อเพลิงมีความหนาแน่นมากกว่าอากาศ ดังนั้น จึงจมลงสู่จุดต่ำสุดได้ ซึ่งอาจทำให้ตัวเร่งปฏิกิริยาเกิดความร้อนเกินไปจนสามารถจุดไฟติด และด้วยความร้อนจากแสงแดดของบ้านเรา ทำให้มีความเสี่ยงอย่างมาก

            ซึ่งความร้อนไม่เพียงแต่สามารถจุดประกายไอเชื้อเพลิงได้เท่านั้น แต่อาจทำให้เกิดความผิดพลาดทางไฟฟ้า เช่น การลัดวงจรและฉนวนที่สึกเหรอ ที่เป็นการจุดระเบิดประกายไฟได้ ดังนั้นการดับเครื่องจะช่วยให้คุณและรถปลอดภัยที่สุด

            ถึงแม้ว่ารถยนต์ของคุณจะได้รับการตรวจสภาพรถยนต์ตามระยะสม่ำเสมอ ไม่สามารถก่อให้เกิดสภาวะผิดปกติใด ๆ แต่ควรระวังไว้ก่อนจะเกิดปัญหาร้ายแรงขึ้นได้ และตามปั๊มน้ำมันส่วนใหญ่แล้ว ก็จะติดป้ายแนะนำให้ดับเครื่องยนต์

 

ข้อห้าม ที่ไม่ควรทำขณะเติมน้ำมัน

  • ห้ามสูบบุหรี่ หรือก่อประกายไฟ

            เป็นสิ่งที่มักพบเห็นตามข่าวมากที่สุด โดยเฉพาะหนุ่ม ๆ สายควัน ที่ชอบลงมาจากรถสูบบุหรี่รอระหว่างเติมน้ำมัน แต่คุณรู้หรือไม่ว่า ภายในปั๊มน้ำมัน มักจะมีไอน้ำมันระเหยออกมา ซึ่งเจ้าตัวไอน้ำนี้สามารถก่อให้เกิดไฟลุกได้

  • งดใช้โทรศัพท์ขณะเติมน้ำมัน

            เครื่องมือสื่อสารอย่างโทรศัพท์มือถือ ก็สามารถก่อให้เกิดประกายไฟได้ รวมทั้งยังมีไฟฟ้าสถิตอีกด้วย หากเกิดประกายไฟไปจุดติดกับไอน้ำมันที่ระเหยออกมาก็อาจจะก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมากเลยทีเดียว

 

ข้อดีและข้อเสีย ของการดับเครื่องยนต์ ขณะเติมน้ำมัน

ข้อดี

  • ปลอดภัยต่อการเกิดอุบัติเหตุที่ไม่คาดคิดทุกกรณี
  • ช่วยลดความเสียหายให้กับเครื่องยนต์ ในกรณีที่เติมน้ำมันผิดประเภท
  • เมื่อสตาร์ทเครื่อง จะสามารถเช็คเกจ์น้ำมันได้ว่า เพิ่มขึ้นมาในปริมาณที่สอดคล้องกับน้ำมันที่เติมหรือไม่
  • ช่วยลดมลพิษทางอากาศที่เกิดขึ้นภายในปั๊มได้อีกด้วย

 

ข้อเสีย

  • เมื่อดับเครื่องแล้วสตาร์ทใหม่จะกินน้ำมันกว่า
  • สำหรับรถที่วิ่งในระยะทางไกล ๆ หากดับเครื่องเติมน้ำมันทันที จะเกิดความร้อนจะพุ่งสูง เพราะพัดลมหยุดทำงาน ระบบหล่อเย็นไม่หมุนเวียน ห้องเครื่องจะร้อนกว่าเดิม
  • หากพนักงานเติมน้ำมันผิด จะส่งผลเสียโดยตรงกับเครื่องยนต์ได้

 

            สรุปแล้วเมื่อคุณเติมน้ำมันควรต้องดับเครื่องยนต์ทุกครั้ง เพราะอาจมีชิ้นส่วนใดของรถที่เป็นเหตุให้เกิดความร้อนจนเกิดไฟลุกไหม้ขึ้นได้ ซึ่งจะเป็นอันตรายทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน ด้วยเหตุนี้ การดับเครื่องยนต์ขณะเติมน้ำมันในทุกครั้งจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรละเลยเพื่อความปลอดภัยของตัวคุณเองและคนรอบข้าง อีกทั้งยังเป็นการลดความเสี่ยงในการเกิดอุบัติเหตุร้ายแรง ซึ่งอาจก่อให้เกิดความเสียหายอย่างมหาศาลได้ เพียงเพราะความชะล่าใจหรือประมาทจนเกินไป 

บทความอื่นที่ใกล้เคียง

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

ลมยางรถยนต์ควรเติมเท่าไหร่จึงจะดีที่สุด

รถแต่ละประเภทหรือแต่ละรุ่นเติมแรงดันลมยางไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาดเลยนะคะ แรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติมลมยางรถเก๋งนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 30-32 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) สำหรับล้อหน้าและล้อหลัง แต่ถ้าหากต้องบรรทุกน้ำหนักมาก เช่น กรณีที่มีผู้โดยสารเต็มทั้ง 5 ที่นั่ง หรือบรรทุกของด้านหลังจนเต็ม อาจเพิ่มปริมาณการเติมได้ถึง 33-35 PSI เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนแรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรถกระบะนั้นจะค่อนข้างใช้ลมยางที่มากกว่ารถเก๋งโดยสารตามปกติ โดยสำหรับล้อหน้าแรงดันยางจะอยู่ที่ประมาณ 36-38 PSI และล้อหลังที่ 40-42 PSI แต่ถ้าหากบรรทุกของเต็มท้ายรถ ก็สามารถเพิ่มปริมาณการเติมลมเพื่อรองรับน้ำหนักได้มากถึง 47-51 PSI เลยทีเดียวค่ะ

scroll up