บทความต้องรู้

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

วิธีการเลือกรถยนต์มือสอง

05/ต.ค./2563

วิธีการเลือกรถยนต์มือสอง

ในยุคสมัยปัจจุบันนี้การจะออกรถยนต์ใหม่ป้ายแดงสักคัน อาจเป็นปัญหาใหญ่สำหรับใครหลายๆคนเนื่องจากเราทุกคนก็คงไม่ยากจะเพิ่มภาระให้ตัวเองในสภาวะเศรษฐกิจเช่นนี้ ผู้คนส่วนใหญ่จึงหันมามองที่ตลาดรถยนต์มือสอง เพราะว่าในราคาที่เท่ากันเราสามารถที่จะซื้อรถยนต์มือสองยี่ห้อเดียวกันรุ่นที่เหนือกว่ารถยนต์ป้ายแดงยี่ห้อเดียวกัน หรือ สามารถที่จะซื้อรถยนต์รุ่นเดียวกันในราคาที่ต่ำกว่า แต่ก่อนที่เราจะตัดสินใจซื้อเราควรมาทราบถึงวิธีการเลือกรถยนต์มือสองที่จะทำให้เราได้รถยนต์มือสองที่สภาพดีและคุ้มค่ากับราคาและลดปัญหาที่จะพบเจอจากรถยนต์มือสองที่เราตัดสินใจซื้อ โดยขั้นตอนในการเลือกและตรวจสอบรถยนต์มือสองมีตามขั้นตอนดังนี้

1.จัดเตรียมหาข้อมูลรถยนต์รุ่นที่ตรงใจคุณ

ก่อนสิ่งอื่นใดในการเลือกซื้อรถยนต์มือสองเราควรจะมีข้อมูลมากพอที่จะใช้ประกอบการตัดสินใจในการซื้อ โดยเราต้องศึกษาหาข้อมูลว่ารถรุ่นที่เราสนใจนั้นมีรายละเอียดอะไรบ้าง ยกตัวอย่างเช่น ข้อมูลทั่วไปของรถยนต์รุ่นนี้ ส่วนประกอบต่างๆของตัวรถ เครื่องยนต์ ประเภทของน้ำมัน และ การทำงานของรถยนต์รุ่นนี้  ซึ่งข้อมูลต่างๆเหล่านี้เป็นสิ่งสำคัญมากที่เราควรทราบเพื่อใช้ในการตัดสินใจ รวมทั้งยี่ห้อของรถ รุ่นปีที่ผลิต สีของตัวรถ สภาพของรถ สเปก รวมถึง ราคา ถ้าข้อมูลต่างๆเหล่านี้ไม่ตรงกับเราที่จะตัดสินใจซื้อเราอาจจะเสียท่าโดนหลอกจากรถที่มีการดัดแปลงสภาพหรือผ่านการซ่อมแซมอย่างหนักมา หรือถ้าเรามีข้อมูลที่ไม่มากพอหรือขาดการหาข้อมูลอาจทำให้เราโดนหลอกได้รถที่สภาพไม่ดีหรือได้รถยนต์มือสองที่มีปัญหาในการใช้งานมาเป็นเจ้าของ

2. ตรวจสอบสภาพภายนอกของตัวรถยนต์

เมื่อเราได้พบกับรถตัวจริงสิ่งแรกที่เราสามารถสังเกตุได้ง่ายที่สุดคือ สภาพภายนอกของตัวรถยนต์โดยเราควรเริ่มจากตรวจสอบ รอยขีดข่วน รอยเฉี่ยวชน รอยบุบ รอยสีแตก และ รอยสนิม อีกทั้งเรายังควรเปรียบเทียบความดั้งเดิมกับรถรุ่นเดียวกันที่ออกจากศูนย์ว่ามีการติดตั้งชุดพาร์ทรอบคันครบถ้วนหรือไม่ โดยจุดสำคัญที่เราควรตรวจสอบหลักๆได้แก่ สีของตัวรถยนต์ต้องไม่ผิดเพี้ยนเพราะการพ่นสีจากโรงงานผลิตกับการพ่นสีจากอู่ทำสีนั้นมีความแตกต่างกันมากทั้งตัวเนื้อและผิวของสี ความละเอียดของสี รวมทั้งคุณภาพความละเอียดในการพ่นสี จุดต่อมาคือโครงสร้างของตัวรถ ระยะห่างของตัวถัง หัวของตัวน็อตและข้อต่อต่างๆ ซึ่งในชิ้นส่วนเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงการผ่านการซ่อมแซมมาได้ รวมทั้งในจุดที่เสี่ยงต่อการเกิดอุบัติเหตุอย่างเช่น ฝากระโปรงท้ายรถ ห้องเครื่องด้านหน้ารถ จุดเหล่านี้ไม่ควรมีการถอดหรือขยับไปจากเดิม  ส่วนต่อมาที่ควรตรวจสอบคือส่วนของแชสซีส์  ต้องไม่มีการดัดหรือคดงอ และ ต้องไม่มีรอยเชื่อมตัดผุ รวมทั้งเลขของตัวถังต้องตรงกับเล่มทะเบียน ถ้าหากพบความผิดปกติในจุดนี้ให้สันนิษฐานว่ารถยนต์คันนี้อาจเคยประสบอุบัติเหตุรุนแรงมาก่อน

3.ตรวจสอบสภาพภายในของรถยนต์

ภายในรถของตัวรถเปรียบเสมือนบ้านอีกหลังของเจ้าของรถเพราะเป็นจุดที่เราจะได้ใช้งานอยู่ในที่นี้จึงต้องเลือกให้ดี เริ่มจากตรวจสอบสภาพเบาะของรถว่ามีรอยขีดข่วนหรือตรงกับสเปกของรถรุ่นนี้ที่ออกจากโรงงานหรือไม่ รวมทั้งกลิ่นอับหรือเชื้อราต่างๆที่ตัวเบาะรถ จุดต่อมาคือแผงคอนโซลต้องไม่มีรอยแตก แยก หรือ ชำรุดต่างๆ ต่อด้วยการตรวจสภาพชุดพวงมาลัยมาเป็นระบบไฟที่หน้าปัดของรถต้องแสดงผลได้ครบทุกตำแหน่ง การใช้งานกระจกไฟฟ้า ระบบเครื่องเสียง ระบบเซ็นทรัลล็อค รวมถึงระบบปรับอากาศทำความเย็นได้ดีหรือไม่

4.ทดสอบเครื่องยนต์และทดลองขับรถ

ก่อนอื่นเลยเรามาตรวจสอบกันที่เลขไมล์ของรถยนต์ส่วนนี้จะบ่งบอกได้ถึงความสมบูรณ์ของรถยนต์ โดยทั่วไปของรถยนต์ที่ใช้งานปกติเลขไมล์เฉลี่ยจะอยู่ที่ 30,000 กิโลเมตร ต่อ 1 ปี ส่วนนี้เลขไมค์ต้องสัมพันธ์กับสภาพตัวรถยนต์หากสภาพรถยนต์ไม่ดีแต่เลขไมล์น้อยอาจเกิดการย้อมแมวปรับแต่งเลขไมล์ได้ จุดต่อมาที่เราตรวจสอบคือเครื่องยนต์ เริ่มจากเมื่อเราสตาร์ทเครื่องยนต์ขึ้นมา  เครื่องต้องไม่สะดุด มีความนิ่งไม่สั่นสะเทือนจนเกินไป สังเกตุฟังเสียงของเครื่องยนต์และสังเกตุกลิ่นที่เผาไหม้รวมถึงสังเกตุดูว่ามีของเหลวไหลลงพื้นหรือไม่ เมื่อทดลองขับเราควรสังเกตุดูความไหลลื่นของรอบเดินรถทั้งรอบเดินเบาและรอบเดินสูง ตรวจสอบระบบเกียร์และระบบเบรค และอีกหนึ่งจุดสำคัญที่ต้องตรวจสอบคือ ระบบช่วงล่าง ระบบโช๊คอัพ และ ล้อยางรถยนต์ มีความผิดปกติในการขับขี่หรือไม่

    

5.ตรวจสอบเอกสารและเล่มทะเบียน

เมื่อเราได้รถยนต์คันที่ถูกใจสิ่งสุดท้ายที่สำคัญก่อนการตัดสินใจซื้อขายก็คือ เอกสารประจำรถยนต์ทั้งหมดเช่น สมุดคู่มือการจดทะเบียน ประกันภัย สมุดเข้ารับการซ่อมบำรุง รวมทั้งเล่มทะเบียนของรถเป็นเอกสารสำคัญที่สุด ซึ่งจะระบุว่าใครเป็นเจ้าของรถยนต์คันนี้ เลขของตัวถังและเลขของตัวเครื่องยนต์ ซึ่งหากถ้าเราพบว่ามีการเปลี่ยนเครื่องยนต์หรือการดัดแปลงสภาพเครื่องยนต์ต้องมีเอกสารการแจ้งต่อกรมขนส่งฯ หากยังไม่มีต้องให้เจ้าของรถยนต์คนเก่าแนบเอกสารการซื้อเครื่องยนต์ให้ผู้ซื้อด้วย


เหนือสิ่งอื่นใดในช่วงเศรษฐกิจแบบนี้เราควรเลือกร้านรถยนต์มือสองที่คุ้มค่าคุ้มราคา อนุมัติไว ผ่อนสบาย ฟรีดาวน์ หากใครที่กำลังมองหาร้านรถยนต์มือสอง ให้คิดถึงเรา รถมือสองพัทยา รถมือสองชลบุรี เต็นท์รถมือสองที่ใหญ่ที่สุดในพัทยา รถมือสองสภาพสวย สภาพนางฟ้า ไม่ว่าจะเป็น รถเก๋ง รถกระบะ รถครอบครัว ต้องที่นี่ “ไมค์ คาร์ เเกลเลอรี่” เท่านั้น!!!

ปล.สนใจซื้อตอนนี้มีโปรโมชั่นดีๆรออยู่ ทั้งฟรีทองคำแท้(สำหรับบางคันที่กำหนด)  ทั้งแถมฟรี กล้องติดหน้ารถ มูลค่า 2,000 บาท ทั้งโปรโมชั่นช่วยผ่อน 3,000 บาท จนถึงสิ้นปี2020 อีกทั้งยังมีส่วนลดถึง 30,000 บาท


 

มีรถสักคันไม่ใช่เรื่องยาก

สนใจกดเลย ► ► https://lin.ee/bBCUERy
บทความอื่นที่ใกล้เคียง

เพราะรอยยิ้มของคุณ คือความสุขของเรา

ลมยางรถยนต์ควรเติมเท่าไหร่จึงจะดีที่สุด

รถแต่ละประเภทหรือแต่ละรุ่นเติมแรงดันลมยางไม่เท่ากัน จึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้ามโดยเด็ดขาดเลยนะคะ แรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับการเติมลมยางรถเก๋งนั้นจะอยู่ที่ประมาณ 30-32 PSI (ปอนด์ต่อตารางนิ้ว) สำหรับล้อหน้าและล้อหลัง แต่ถ้าหากต้องบรรทุกน้ำหนักมาก เช่น กรณีที่มีผู้โดยสารเต็มทั้ง 5 ที่นั่ง หรือบรรทุกของด้านหลังจนเต็ม อาจเพิ่มปริมาณการเติมได้ถึง 33-35 PSI เนื่องจากน้ำหนักที่เพิ่มมากขึ้น ส่วนแรงดันลมยางที่เหมาะสมที่สุดสำหรับรถกระบะนั้นจะค่อนข้างใช้ลมยางที่มากกว่ารถเก๋งโดยสารตามปกติ โดยสำหรับล้อหน้าแรงดันยางจะอยู่ที่ประมาณ 36-38 PSI และล้อหลังที่ 40-42 PSI แต่ถ้าหากบรรทุกของเต็มท้ายรถ ก็สามารถเพิ่มปริมาณการเติมลมเพื่อรองรับน้ำหนักได้มากถึง 47-51 PSI เลยทีเดียวค่ะ

scroll up